แจ้ง 3ทางเลือก คืนเงินชร าภาพ

ชงแก้ พ.ร.บ.ประกันสังคมบรรเทาความเ ดือดร้อนจากพิ ษโควิ ด เปิด 3 ทางเลือกผู้ประกันตน ให้สิทธิรับบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ ดึงเงินที่จ่ายสมทบไม่เกิน 30% มาใช้ กับใช้เงินสะสมค้ำประกันเงินกู้แบงก์ รมว.แรงงาน “สุชาติ ชมกลิ่น” ดันเข้า ครม. มิ.ย.นี้

นางสาวบุปผา เรืองสุด ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เห็นชอบให้มีการปรับแก้กฎหมายประกันสังคมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแ พร่ระบาดของโควิ ด-19 รวม 3 แนวทาง ประกอบด้วย

ปลดล็อก กม.ช่วยผู้ประกันตน

1) “ขอเลือก” รับเงินจากกองทุนบำเหน็จหรือบำนาญชร าภาพ จากเดิมที่กฎหมายระบุว่า หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาเกินกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประกันตนบางส่วนต้องการเลือกใช้บำเหน็จ

2) “ขอคืน” เงินบางส่วนนำมาใช้ดำรงชีพ หรือนำไปลงทุนทำงานอื่น ๆ ในช่วงที่ไม่มีงานทำ หรือเกิดวิ กฤตหรือเหตุสุดวิสั ยที่ทำให้ถูกเลิกจ้างงาน เช่น กรณีการร ะบาดของโควิ ด-19 โดยผู้ประกันตนสามารถเรียกขอใช้เงิน “บางส่วน” ก่อน แต่ต้องไม่มากกว่า 30% ของเงินสะสมบำหน็จบำนาญชราภาพ หรือไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน

และ 3) “ขอกู้” โดยใช้วงเงินสะสมของผู้ประกันตนในส่วนของเงินสะสมบำเหน็จบำนาญชร าภาพมา “ค้ำประกัน” เงินกู้ ให้ผู้ประกันตนที่เดือดร้อน ซึ่งส่วนนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของสถาบันการเงิน

เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยก้ำกึ่ง
ทั้งนี้ หลังจากกระทรวงแรงงานเห็นชอบร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกันสังคมแล้ว ได้เปิด “ประชาพิจารณ์” รับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในช่วงเดือน เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งองค์กรลูกจ้าง-นายจ้างเข้าร่วม

ขณะเดียวกันก็ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับประเด็นที่ปรับแก้กฎหมายพบว่า จำนวนผู้เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมีสัดส่วนใกล้เคียงกันมากที่ 50:50 ฉะนั้นในขั้นตอนการพิจารณาและปรับแก้ไข จะต้องรอบคอบรัดกุมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ในการดูแลเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 อย่างเท่าเทียมกัน

ชงเข้า ครม.เดือน มิ.ย.

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม แต่ผู้ประกันตนยังคงได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดิม เช่น สิทธิในการได้รับการเยียวยาว่างงาน สิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นต้น ขั้นตอนต่อไปคือ นำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ภายในเดือน พ.ค.นี้

หากบอร์ดเห็นชอบ รมว.แรงงานจะนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน มิ.ย. 2564 จากนั้นจะจัดทำร่างกฎหมายฉบับสมบูรณ์เสนอที่ประชุมสภาพิจารณา ก่อนประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย

หลักการของเงินบำเหน็จบำนาญชร าภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับผู้ประกันตนที่เกษียณอายุ แต่เมื่อผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากโควิ ด-19 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้กำชับให้กระทรวงแรงงานดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างดีที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่ของกฎหมาย หากไม่แก้ไขกฎหมายก็ไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนได้เต็มที่

องค์กรลูกจ้างค้าน กม.ใหม่สุดตัว

ด้าน นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย” ที่ สปส.จะแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนนำเงินสมทบบำเหน็จบำนาญชร าภาพมาใช้ก่อนได้ เพราะถ้ากลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ไม่สูงมาก นำ “เงินอนาค ต” มาใช้ จะมีความเ สี่ยงอย่างมาก

เพราะปัจจุบันสถานะของแรงงานในระบบประกันสังคมถือว่า “หนี้สินรุงรัง” ไม่ว่าจะเปิดให้กู้เงินผ่านช่องทางอย่าง เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ นายจ้างเปิดให้ลูกจ้างกู้เงิน ยังไม่นับรวม “เงินกู้นอกระบบ” ส่วนใหญ่แรงงานก็ทำสัญญากู้เงินกับทุกช่องทาง

“ถ้าผมเป็นบอร์ดประกันสังคม ผมไม่ให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านแน่นอน คนรุ่นใหม่ ๆ ยังไม่เข้าใจว่า ความมั่นคงทางการเงินในบั้นปลายของชีวิตมีความสำคัญมาก มองแค่เพียงต้องมีเงินใช้คล่องมือ สปส.จึงต้องให้ความรู้ผู้ประกันตน ให้เห็นความสำคัญของการเก็บออม เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายแม้ว่าไม่มีงานทำ”

จ่ายไม่ขาดเพิ่มเงินชร าภาพ

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างจัดทำกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดเงินอัตราเงินสมทบ ซึ่งเบื้องต้นกระทรวงแรงงานเห็นชอบในหลักการให้จ่ายบำเหน็จชราภาพให้ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงที่มีการ “ปรับลด” ลดอัตราในงวดเดือน ม.ค. 2564 โดยให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่ม 0.45% ของค่าจ้าง

ในช่วงที่มีการลดอัตรางวดเดือน ก.พ.-มี.ค. 2564 โดยให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มในอัตรา 1.30% ของค่าจ้าง ด้วยการแก้ไขกฎกระทรวงในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 เตรียมเสนอให้บอร์ดประกันสังคมให้ความเห็นชอบเร็ว ๆ นี้

เงินออมเฉลี่ย 1.5 แสน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 กองทุนมีเงินลงทุนสะสมรวมทั้งสิ้น 2,213,478 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล เพื่อนำไปลงทุนสุทธิ 1,459,317 ล้านบาท กำไรจากการลงทุน 754,161 ล้านบาท มีหลักทรัพย์เสี่ยง 23% หลักทรัพย์มั่นคงสูง 77% ส่วนของเงินออมชราภาพอยู่ที่ 1,977,646 ล้านบาท ยอดเงินออมเฉลี่ยของผู้ประกันตนที่ออมไว้กับกองทุนประกันสังคม 153,475 บาท/คน โดยช่วง 3 เดือนแรกปี 2564 ผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 17,476 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนปี 2563 ทั้งปีอยู่ที่ 59,188 ล้านบาท

ขอบคุณ prachachat.